แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน
โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ได้รับการจัดตั้งขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ 8 มกราคม 2527 เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 และกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
ภูมิภาคอาเซียนนั้น ประกอบด้วยประชากรประมาณ 567 ล้านคน มีพื้นที่โดยรวม 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติประมาณ 1,100 พันล้านดอลลาร์ และรายได้โดยรวมจากการค้าประมาณ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ (สถิติในปี 2550)
ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน คือ 1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค และ 2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ในปี 2540 (ค.ศ.1997) ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรอง “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์ร่วมของอาเซียนที่จะเป็นวงสมานฉันท์ในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก การใช้ชีวิตในสภาพที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ผูกมัดกันเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนา ที่มีพลวัตและในประชาคมที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน
ปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี 2563 ต่อมา ในการประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้ว เสร็จภายในปี 2558
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
องค์กรสูงสุดของอาเซียนคือ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนหรือที่ประชุมของประมุขหรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศ สมาชิกอาเซียน (ASEAN Summit) โดยจะมีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ (ASEAN Ministerial Meeting) และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers’ Meeting) เป็นองค์กรระดับรอง และอาจมีที่ประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ ด้วย การประชุมระดับผู้นำและรัฐมนตรีถือเป็นองค์กรระดับนโยบายชั้นสูง รองลงมาจะเป็นที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือระดับปลัดกระทรวง (Senior Officials’ Meeting -SOM) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายของที่ประชุมระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี ส่วนที่ประชุมคณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee -ASC) ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมอาเซียนของประเทศสมาชิก จะทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และเร่งรัดการดำเนินการตามมติที่ประชุมสุดยอดอาเซียนและที่ประชุมระดับ รัฐมนตรี รวมทั้งให้ความเห็นชอบโครงการความร่วมมือด้านต่างๆ ภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ตลอดจนรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน ทั้งนี้ อาเซียนจะตัดสินใจในเรื่องใดๆ โดยใช้ฉันทามติ
นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Countries) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศคู่เจรจาทั้ง 10 ประเทศ และในประเทศอื่นๆ ที่อาเซียนเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สามจะทำ หน้าที่ให้ข้อมูลและวิเคราะห์ท่าทีของประเทศที่คณะกรรมการอาเซียนตั้งอยู่
สำนักเลขาธิการอาเซียนซึ่ง ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานในการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการอาเซียนจะได้รับ การเสนอชื่อและแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิก (ตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อประเทศสมาชิก) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 4 คน โดย 2 คนมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนเรียงลำดับตามตัวอักษรชื่อภาษาอังกฤษของประเทศ และอีก 2 คนมาจากการคัดเลือกในระบบเปิด สำนักเลขาธิการอาเซียนจะมีหน่วยงานเฉพาะด้านที่ดำเนินความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ในขณะที่กรมอาเซียนของประเทศ สมาชิกจะทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการแห่งชาติของแต่ละประเทศ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ของประเทศตนในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ นโยบายหลักในการดำเนินงานของอาเซียนเป็นผลมาจากการประชุมหารือในระดับ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีในสาขาความร่วมมือต่างๆ ของประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ดี โครงสร้างของอาเซียน รวมทั้งสำนักเลขาธิการอาเซียนตามที่กล่าวมาข้าวต้นได้ถูกปรับเปลี่ยนตาม กฎบัตรอาเซียนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2552
ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน
เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ
การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว
วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนจนถึงแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนมีการเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป รวมทั้งทำให้เกิดค่านิยมที่ดี
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด โดยมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ดังนี้
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น
ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย
ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532
จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน
อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]
ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย
ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532
จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน
อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]
ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน
เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ
การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว
วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนจนถึงแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนมีการเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป รวมทั้งทำให้เกิดค่านิยมที่ดี
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด โดยมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ดังนี้
ปี พ.ศ./คศ.
|
วิวัฒนาการและการดำเนินการ
|
2535 (1992)
| การพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าโดยการเร่งลดภาษีสินค้าและยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีภายในอาเซียน |
2538 (1995)
| ริเริ่มความร่วมมือด้านการค้าบริการของอาเซียน โดยจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการในภูมิภาค |
2538 (1995)
| การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน |
2540 (1997)
| กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) เป้าหมายในด้านเศรษฐกิจของอาเซียน คือ สร้างอาเซียนให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน รวมทั้งเงินทุนอย่างเสรี |
2541 (1998)
| จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action: HPA) เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ระยะเวลา 6 ปี (2543 - 2547) |
2543 (2000)
| ประกาศความคิดริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียนในการปรับตัวรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนได้ตามกำ หนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ |
2544 (2001)
| จัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN: RIA) ประกอบด้วยแนวทางขั้นตอน และกรอบเวลา ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competitiveness Study) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเร่งรัดการรวมกลุ่มของอาเซียน |
2545 (2002)
| ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้แน่ชัดเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC) |
2546 (2003)
| ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี ค.ศ. 2000 |
2547 (2004) | ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายฉบับ รวม 11 ฉบับ ซึ่งมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาสำคัญเป็นภาคผนวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน 11 สาขาสำคัญก่อน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การบิน และต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์ |
2548 (2005)
| เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาทบทวน ปรับปรุงแผนงานการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนในระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวมข้อเสนอของภาคเอกชน |
2549 (2006)
| รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (ฉบับแก้ไข) |
2550 (2007)
| - ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2020 - ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างนิติฐานะให้อาเซียนและปรับปรุงกลไก/กระบวนการดำเนินงานภายในอาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน |
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
ขอขอบคุณ เว็ป http://www.osmie4.moe.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=136&Itemid=248
และขอขอบคุณเว็ป http://www.dtn.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7064%3A-asean&catid=304%3Aaecasean&Itemid=792&lang=th
ขอขอบคุณแหล่งที่มาที่ใช้ในแหล่งเรียนรู้ http://www.bic.moe.go.th/index.php?id=50
ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://www.nfe.go.th/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21
และขอขอบคุณเว็ป http://www.dtn.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7064%3A-asean&catid=304%3Aaecasean&Itemid=792&lang=th
ขอขอบคุณแหล่งที่มาที่ใช้ในแหล่งเรียนรู้ http://www.bic.moe.go.th/index.php?id=50
ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://www.nfe.go.th/en/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=21
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น